สืบค้นข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา



โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา



โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มดำเนินการทดลองการแปรรูปผลิตผลการเกษตรขึ้นในพระราชวังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔
"... วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ เพราะโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง และจะดำเนินการเป็นตัวอย่างสำหรับกสิกรและผู้ที่สนใจในการผลิตนมในประเทศไทย โรงงานนี้เป็นแห่งแรกที่ทำขึ้นในเมืองไทย และก็เป็นที่น่าภูมิใจว่าคนไทยได้ออกแบบและเป็นผู้สร้าง ขอให้ถือว่าโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง ใครอยากได้ความรู้ ใครอยากที่จะทำกิจการโคนมให้สำเร็จ ให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ตน แก่เศรษฐกิจของบ้านเมืองก็ให้มาดูกิจการได้ทุกเมื่อ ..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในพิธีเปิดโรงงานนมผง " สวนดุสิต " ณ บริเวณสวนจิตรลดา วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานทรัพย์ส่วน พระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างและพระราชทานโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจ " ดูกิจการได้ทุกเมื่อ " ในแต่ละปีจึงมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานโครงการต่าง ๆ เกือบ ๒๐ , ๐๐๐ คนต่อปี ลักษณะของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
  • โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือ ไปจากภาคเกษตร อีกทั้งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการเหล่านี้ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลองข้าวไร่ การผลิตแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สวนพืชสมุนไพร สาหร่ายเกลียวทองโครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน
  • โครงการกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงบดและอัดแกลบ ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์ โรงเนยแข็ง โรงสีข้าว โรงเห็ด โรงอาหารปลา โรงผลิตกระดาษสา และโรงหล่อเทียนหลวง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาที่จัดอยู่ ในกลุ่มของอุตสาหกรรมเกษตรมีมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
ทั้งในด้านอยู่ดีกินดีและเสริมสร้างรายได้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา เริ่มจากในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีบริษัทและหน่วยราชการน้อมเกล้าฯ ถวายโค ๖ ตัว ซึ่งเป็นโคตั้งท้องแล้ว ๔ ตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับสร้างโรงงานโคนม ราคา ๓๒ , ๘๘๖ . ๗๓ บาท ขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา ต่อมาเมื่อแม่โคตกลูกและเริ่มทำการรีดนม น้ำนมที่เหลือจากการแบ่งให้ลูกโคกินแล้ว ได้นำไปจำหน่าย เมื่อมีจำนวนโคนมเพิ่มขึ้น ทั้งจากแม่โคที่ให้ลูกทุกปี และมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายสมทบ ทำให้สามารถผลิตน้ำนมออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกและโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียง เมื่อมีกำไรสะสมมากยิ่งขึ้น ก็ได้ขยายงานออกไปตามลำดับทั้งในด้านการผลิตน้ำนม คุณภาพนมดิบ และการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร ผลพลอยได้จากโรงโคนมคือ มูลโคซึ่งเมื่อนำมาหมักจะได้ " ไบโอแก๊ส " หรือ " แก๊สชีวภาพ " สำหรับเป็นเชื้อเพลิง กากจากบ่อหมักแก๊สชีวภาพยังสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย มูลโคที่เป็นสารละลายที่อยู่ในถังหมัก ส่วนหนึ่งนำไปใช้สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งสามารถนำไปทำอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงปลาอีกส่วนหนึ่งทำเป็นปุ๋ยใส่ แปลงพืชอาหารสัตว์ และบางส่วนนำไปใช้สำหรับบำรุงบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล


เครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนเยอรมัน ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้อบผลิตผลทางเกษตรต่าง ๆ เช่น เมล็ดธัญญพืช เมล็ดถั่ว ผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เนื้อและผลิตภัณฑ์ประมงและเป็นเครื่องต้นแบบให้เกษตรกรที่ทำ อุตสาหกรรมกล้วยตากอบแห้งนำไปเป็นต้นแบบในการผลิต
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชทีหายากและเป็นการขยายพันธุ์พืชไม่ให้กลายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญคือห้องเตรียม อาหาร ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ และห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเป้าหมายของโครงการคือ สมอไทย ขนุน พุดสวน มณฑา และยี่หุบ ศูนย์รวมนม ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา รับนมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพและโรงโคนมสวนจิตรลดาเพื่อผลิตนมพาสเจอร์ไร ซ์จำหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและยังนำรายได้ไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการ ของโรงนมผงสวนดุสิตนมพาสเจอร์ไรซ์ที่ผลิตในโครงการมีการบรรจุ ๒ แบบคือ
  • แบบบรรจุถุง บรรจุนม ๒๒๕ มิลลิลิตร บรรจุนมรสจืด รสหวานกลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ และรสโกโก้
  • แบบบรรจุขวด บรรจุนม ๑๐๐๐ มิลลิลิตร และ ๕๐๐ มิลลิลิตร บรรจุรสจืด รสหวานหลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ รสโกโก้ และรสกาแฟ

โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมผงสวนดุสิตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื่องจากเกิดภาวะนมสดล้นตลาด สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขนาดย่อมขึ้น เพื่อผลิตนมผงเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาด น้ำกลั่น น้ำกลั่นเป็นผลผลิตพลอยได้จากเครื่องระเหยนมซึ่งมีความบริสุทธิ์ค่อนข้าง สูงและมีมากพอที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำกลั่นเพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์และใช้ ดื่มได้


โรงเนยแข็ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้สร้างโรงเนยแข็งน้อมเกล้าถวายในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๐ และคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซี . ซี . ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายอุปกรณ์สำหรับการผลิตเนยแข็ง ปัจจุบันโรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาด เช่น นมข้นหวานบรรจุหลอด นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสต่าง ๆ ไอศครีม นมสดพาสเจอร์ไรซ์ปราศจากไขมัน เนยแข็งเกาด้า เนยแข็งเช็ดด้า และเนยสด โรงนมเม็ด โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เคยผลิตนมเม็ดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้จัดทำโรงนมเม็ดขึ้นใหม่เพื่อเป็นการส่ง เสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อเป็นการแนะนำการผลิตนมเม็ดขึ้นในประเทศ ปัจจุบันสามารถผลิตนมเม็ดได้วันละ ๗,๐๐๐ - ๑๒,๐๐๐ ซองต่อวัน มีทั้งสิ้น ๓ รส คือรสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต มีหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้ โรงสีข้าวตัวอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงสีข้าวตัว อย่างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อทำการทดลองสีข้าวและสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกแบบต่าง ๆ และในปัจจุบันได้ดัดแปลงยุ้งฉางแบบสหกรณ์ให้สามารถนำข้าวเปลือกเข้าและออก จากยุ้งไปสีโดยไม่ต้องใช้คนแบกขน งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาต่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินเป็นทุนวิจัยใช้ในการดำเนินงาน ๙๒๕,๐๐ บาท
เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตร ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ได้ขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้มีพอใช้ผลสมกับ น้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์สำหรับรถยนต์ทุกคันของโครงการที่ใช้เบนซิน และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแบ่งเป็นหน่วยย่อย คือ ๑ . โรงแอลกอฮอล์ทำหน้าที่ ผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ ๙๕ และผลิตน้ำส้มสายชูจากสับปะรดและเศษผลไม้อื่น ๆ ๒ . โรงอัดแกลบ ทำหน้าที่ผลิตแกลบอัดแท่งและเผาถ่านจากแกลบอัดเพื่อจำหน่ายและใช้เป็นเชื้อ เพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไอน้ำของโรงกลั่นแอลกอฮอล์ ๓ . งานพิเศษตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ได้แก่ บ้านพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการศึกษาทอลองเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ และระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และเป็นน้ำหล่อเย็นในการผลิตเทียนของโรงหล่อเทียนหลวงของสวนจิตรลดา น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ การผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ได้เริ่มผลิตตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยผลิตน้ำส้ม น้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำขิงออกจำหน่าย และส่งเสริมให้เกษตรจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานในรูปของสหกรณ์เกษตร โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง เริ่มโครงการเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิต การตลาดที่จะผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนดื่มน้ำผลไม้มาก ขึ้น น้ำผลไม้บรรจุกระป๋องของโครงการมีหลายชนิด เช่น น้ำมะม่วง น้ำตะไคร้ น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง น้ำสับปะรด น้ำกาแฟ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เป็นต้น สาหร่ายเกลียวทอง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้นำน้ำกากมูลหมักซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เลี้ยง สาหร่ายเกลียวทอง และนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลา


โรงกระดาษสา งานวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสาเพื่อสร้างอาชีพและรายได้แก่ กลุ่มราษฎรในชนบทและเป็นการอนุรักษ์กระดาษสาไว้ น้ำผึ้งสวนจิตรลดา โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงผึ้งโดยการรับซื้อน้ำผึ้ง ทำการบรรจุขวดและจัดหาตลาดจำหน่ายให้ ส่วนขี้ผึ้งนำมาผลิตเทียนสีผึ้ง

กังหันน้ำชัยพัฒนา


กังหันน้ำชัยพัฒนา




กังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสีย“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน
ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

ส่วนประกอบ

กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ( สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ )
ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน ๖ ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น ๓ ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก ๑๒ โครงใน ๒ ด้าน
มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า " เพลากังหัน " ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ๒ แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง ๒ ด้านเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง

การทำงาน

ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้ เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น กระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้ เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน

จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่
วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปี ๒๕๓๒ แล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบ ในส่วนที่เป็นปัญหา ได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด นับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ
ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว ๑,๔๕๐ รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วยความเร็ว ๕ รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด ๒ แรงม้า และมีการปรับปรุง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกแบบตัวเครื่องให้สามารถ ขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำ ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ ๐.๙ กิโลกรัมต่อแรงม้า - ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเทออกซิเจนได้ ๑.๒ กิโลกรัมต่อแรงม้า - ชั่วโมง

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๓๖ หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อ วันที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๓๕ จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ ๒ ก.พ. ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “ Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถ และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการแกล้งดิน


โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก

ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์

จากการทดลอง ทำให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ ๓ วิธีการด้วยกัน คือ
  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
  • ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
  • ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน

โครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิง





 ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง

          โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้

          ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้

แนวคิดของโครงการแก้มลิง

          แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง


ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
          ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

ประเภทของโครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ
          ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น
          ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
          ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง
          ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"

การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง
          การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมาก และระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา
          ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
          ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
          นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการในระบบคือ

          ๑.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง          ๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"          ๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"

          ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์  "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตามรอยพ่อ

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้สนใจ





       


พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 


“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อนเมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 
ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้ 
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
 
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

เส้นทางเกลือ

แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน "เส้นทางเกลือ"

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหลักสังคมวิทยาการแพทย์  (Medical Sociology)
Image result for แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน "เส้นทางเกลือ"


ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพบว่าปัญหาการขาดสารไอโอดีนจนเกิดเป็นโรคคอพอกนั้นยังมีอยู่มากมายหลาย พื้นที่ และยามที่เสด็จพระราชดำเนินไปในท้องที่ทุรดันดารนั้นมีผู้คนที่เข้าเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาทจำนวนมากที่เป็นโรคนี้  และขอรับการรักษาจากคณะแพทย์หลวงที่ตามเสด็จฯ
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระเมตตาและสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนเป็น อย่างมาก ถึงกับเคยทรงนำเกลือผสมไอโอดีนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปทรงแจกประชาชนในถิ่น ทุรกันดารมาแล้วหลายครั้ง  เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมกิจกรรมของวิทยาลัยเทคนิค เชียงใหม่ ซึ่งในการนี้ได้ทอดพระเนตรการสาธิตการทำงานของเครื่องผสมเกลือไอโอดีน ซึ่งทางวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ได้ผลิตขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้แก่จังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือที่ราษฎรประสบปัญหาของการขาดสารไอโอดีน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริว่า
...ให้ พิจารณาแก้ไขปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎรโดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละ พื้นที่ถึงปัญหา และความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะต้องสำรวจ  เส้นทางเกลือ   ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือเสียเลยทีเดียว... 
Image result for แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน "เส้นทางเกลือ"

วิธีการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เส้นทางเกลือ
  1. ศึกษาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีน โดยการค้นหา  เส้นทางเกลือ ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภค
  2. นำไอโอดีนไปผสมที่แหล่งผลิตหรือแหล่งจัดจำหน่ายโดยเติมให้ฟรีก่อน หากภายหลังพ่อค้าและภาคเอกชนเกิดศรัทธาสมทบก็สามารถทำได้
  3. หากบางท้องที่ไม่อาจเติมไอโอดีนที่แหล่งต้นทางได้ ทรงแนะนำว่าควรนำเครื่องเกลือผสมไอโอดีนไปบริการในลักษณะหน่วยบริการเคลื่อน ที่เข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ กล่าวคือ ใครมีเกลืออยู่แล้วก็ผสมให้ฟรี หรืออาจเอาเกลือธรรมดามาแลกกับเกลือผสมไอโอดีนก็ได้
  4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีนว่ามี  เส้นทางเกลือ มาจากแหล่งใด
Image result for แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน "เส้นทางเกลือ"
ผลการสำรวจ เส้นทางเกลือ
จาการค้นคว้า เส้นทางเกลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาสรุปได้ว่า
  • เกลือผสมไอโอดีนส่วนใหญ่เป็นเกลือป่น
  • เกลือที่ไม่ได้ผสมสารไอโอดีนเพิ่มเข้าไปจะมีทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด
  • เกลือป่นส่วนใหญ่เป็นเกลือสินเธาว์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกลือเม็ด
  • ส่วนใหญ่เป็นเกลือสมุทรจากสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี
เส้นทางเกลือที่ไม่ผสมไอโอดีน มีแหล่งผลิตและจำหน่ายที่สำคัญ รวม 4 เส้นทาง คือ
  1. ส่วนที่ 1  จาก จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งรวมเกลือสมุทรจากเพชรบุรีและสมุทรสงครามส่งไปยังตัวเมืองเชียงใหม่ และส่งขายต่อร้านค้าย่อยในอำเภอสะเมิง
  2. ส่วนที่ 2  พ่อ ค้าเชียงใหม่ซื้อตรงจากสมุทรสาคร โดยรถสิบล้อบรรทุกขึ้นมาแล้วมาบรรจุใส่ซองพลาสติดใส นำขึ้นรถปิดอัพเร่ขายในอำเภอสะเมิงและพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ส่วนที่ 3  พ่อ ค้าจากมหาสารคาม มีการซื้อเกลือสินเธาว์ป่นแถบอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และย่านหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มาบรรจุซองที่จังหวัดมหาสารคาม แล้วนำเกลือไปเร่ขายทั่วประเทศโดยใช้รถหกล้อ ซึ่งมีการส่งขายถึงเชียงใหม่ และเข้าสู่อำเภอสะเมิงในที่สุด
  4. ส่วนที่ 4  จากกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้ารายใหญ่จัดส่งไปขายที่เชียงใหม่และแถบใกล้เคียงโดยใช้เกลือสมุทรธรรมดา
วิธีการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนหรือเกลืออนามัย

โดยปกติแล้วคนเราต้องการธาตุไอโอดีนวันลประมาณ 100-150 ไมโครกรัมในปริมาณเกลือที่บริโภคต่อวัน เฉลี่ย 5.4 กรัม

อัตราส่วนเกลือไอโอดีน
ต้องใช้ปริมาณไอโอเดทที่เสริมในเกลืออัตราส่วน 1:20,000 โดยน้ำหนัก
เกลือ 1 กิโลกรัม ต้องเสริมโปแตสเซียมไอโอเดท 50 มิลลิกรัม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัมต่อคนต่อวัน

โปแตสเซียมไอโอเดท 1 กิโลกรัม ผสมเกลือได้ 18 ตัน ซึ่งมีหลายวิธีการ ดังนี้

การเสริมไอโอดีนในเกลือโดยใช้วิธีผสมเปียก

โดยการใช้ผงไอโอเดทปริมาณ 25 กรัม ผสมกับน้ำจำนวน 1 ลิตร ซึ่งผลการ

ทดลอง ของวิทยาลัยเทคนิคสกลนครสามารถผลิตเกลือผสมไอโอดีนได้ครั้งละ 60 กิโลกรัม โดยการพ่นฉีดแต่ละครั้ง 60 กิโลกรัม โดยการพ่นฉีดแต่ละครั้ง จะใช้ไอโอดีนน้ำผสมประมาณครั้งละ 200 ซีซี. ต่อเกลือจำนวน 60 กิโลกรัม ซึ่งพบว่าได้ความเข้มข้นของไอโอดีนสม่ำเสมอดี

การเสริมเกลือไอโอดีนแบบผสมแห้ง

เป็นเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่ดำเนินการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงโดยใช้วิธี

ผสมแห้งและใช้หลักการทำงานของเครื่องผสมทรายหล่อ และหลักการทำงานของเครื่องไซโลผสมอาหารสัตว์มาเป็นการทำงานของเครื่องผสม เกลือไอโอดีน ซึ่งใช้สะดวก กระทัดรัด ประหยัด ผสมได้ครั้งละ 60 กิโลกรัม โดยใช้ใบกวนหมุนภายในถังที่ตรึงอยู่กับที่  โดย ให้ความเร็วของการหมุนใบกวนสัมพันธ์กับลักษณะของใบกวนที่วางใบให้เป็นมุม เอียง เพื่อให้เกลือไหลและเกิดการพลิกตลอดเวลา ใช้เวลาในการคลุก 2 นาที โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ในกรณีที่มีความประสงค์จะผสมเกลือไอโอดีนด้วยตนเอง ก็สามรถทำได้ในอัตราส่วนดังกล่าว โดยใช้กะบะและไม้พายผสมโดยใช้แรงคนใช้เวลาผสมประมาณ 20-30 นาที หรือนานกว่าจึงจะได้ส่วนผสมที่ใช้การได้

เส้นทางเกลือจึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงห่วงใยในทุกวิถีแห่งการดำรงชีพของมวลพสกนิกรทั้งหลายโดยแท้

การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Related image


นอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับเรื่องของดินและน้ำแล้ว แนวคิดและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ยังคำนึงถึงความสอดคลอ้งเกื้อกูลกันระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ความเข้าใจถ่องแท้ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติของพระองค์นั้นทำให้เกิดแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ และเรื่องของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ซึ่งในส่วนแรกนี้ ตัวอย่างที่พอจะแสดงให้เห็นเป็นสังเขป คือ
ป่า 3 อย่าง ป่าไม้ 3 อย่างเป็นแนวคิดของการผสมผสานความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง ป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสวนป่าเหล่านี้นอกจากเป็นการเกื้อกูลและอำนวยประโยชน์ 3 อย่างนั้นแล้ว ป่าไม้ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ อันเป็นการอำนวยประโยชน์ อย่างที่ 4 ซึ่งเป็นผลพลอยได้
Image result for แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
"ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก"  ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งถึงวิถีแห่งธรรมชาติ โดยที่ได้พระราชทานแนวคิดว่าบางครั้งป่าไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพธรรมชาติชั่วระยะเวลาหนึ่งป่าไม้ก็จะขึ้นสมบูรณ์เอง  การระดมปลูกป่าด้วยความไม่เข้าใจ เช่น ปอกเปลือกหน้าดินซึ่งมีคุณค่ามากออกไป และปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและระบบนิเวศน์บริเวณนั้น นอกจากต้นไม้ที่ปลูกไว้จะตายโดยไม่ได้ประโยชน์แล้วยังทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวความคิดที่ลึกซึ้งนี้ จึงเป็ฯที่มาของคำว่า "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ซึ่งเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ผู้รู้ทั่วไป
"ฝายชะลอความชุ่มชื้น" (Check Dam) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นวิธีการในการสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ด้วยวิธีง่ายๆ และประหยัด และได้ผลดีนั่นคือการสร้างฝายเล็กๆ ให้สอดคล้องไปกับสภาพธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) มีอยู่ 2 ประเภทคือ ฝายต้นน้ำลำธาร สำหรับกักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดินเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น และอีกประเภทหนึ่งคือ ฝายดักตะกอนดินและทรายมิให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง ฝายทั้ง 2 ประเภทสามารถสร้างความชุ่มชื้นและชะลอความชุ่มชื้นและระบบวงจรน้ำที่อำนวยประโยชน์แก่การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่ง ดังตัวอย่างที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกประการหนึ่งก็คือ ทฤษฎีในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรมโดยการดำเนินการตามแนว "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำกัดให้ก่อประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็มีน้ำไว้ใช้ตลอดปีเป็นการอำนวยประโยชน์ต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปด้วย
"ทฤษฎีใหม่" อันเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริภาพของพระองค์นั้น มีหลักสำคัญง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน สรุปได้ว่า พื้นที่ถือครองโดยถัวเฉลี่ยของเกษตรกรไทยอนุมานว่าจะมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่  แบ่งพื้นที่ตามวิธีการทฤษฎีใหม่จะเป็นนาข้าว 5 ไร่ พืชไร่  พืชสวน 5 ไร่ ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 2 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ (ลึกประมาณ 4 เมตร) จุน้ำได้ประมาณ 19.000 ลูกบาศก์เมตร หรือสูตร 30-30-30
ในการนี้ใคร่ขอนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ที่ได้พระราชทานรายละเอียดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2537 มาเพื่อเป็นการอธิบายความให้ชัดเจนดังนี้
1.  ถ้าพูดอย่างสรุปที่สุด เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของทิ่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก (ประมาณ 15 ไร่) ซึ่งเป็นอัตราถือครองโดยเฉลี่ยของเกษตรกรโดยทั่วๆ ไป
2.  หลักสำคัญ  ให้เกษตรกรมีความพอเพียงโดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น
3.  มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพีงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้
4.  เพื่อการนี้  จะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้งประมาณ 1.000 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 ไร่  หากแต่ละแปลงเกษตรมีเนื้อที่ 5 ไร่ และแบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 จะมีพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
นาข้าว 5 ไร่ จึงต้องมีน้ำ
5 x 1,000 = 5,000 ม3
พืชไร่ หรือไม้ผล 5 ไร่
จึงต้องมีน้ำ 5 x 1,000 = 5,000 ม3
รวม 10,000 ม3
ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีน้ำสำรองไว้หน้าแล้ง โดยเฉลี่ยประมาณ  10,000 ม3 จึงได้ตั้งสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
สระน้ำเนื้อที่ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร
จะมีน้ำจุได้ประมาณ 19,000 ม3
ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 2 ไร่
นาข้าว 5 ไร่
พืชไร่ พืชสวน 5 ไร่
รวมทั้งแปลงเนื้อที่ 15 ไร่
5. อุปสรรคสำคัญที่สุดคือ อ่างเก็บน้ำหรือสระที่มีน้ำเต็ม และได้รับน้ำให้เต็มเพียงปีละหนึ่งครั้งในหน้าฝน และจะมีการระเหยวันละ 1 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยในวันที่ไม่มีฝนตกหมายความว่า ในปีหนึ่งถ้านับว่าฝนไม่ตก 300 วัน ระดับของสระจะลดลง 3 เมตร (ในกรณีนี้ 3/4  ของ 19,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่ใช้จะเหลือ 4,750 ลูกบาศก์เมตร) จึงต้องมีการเติมน้ำเพื่อให้เพียงพอ
6.  ด้วยเหตุนี้  หากจะให้ทฤษฎีสมบูรณ์สระน้ำทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ ก็มีความจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำใหญ่มาคอยเติม เปรียบเสมือนมีแทงก์น้ำใหญ่มาคอยเติมตุ่มน้ำเล็กให้เต็มอยู่เสมอ ในกรณีของโครงการวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว โดยมีความจุ 800,000 ลูกบาศก์เมตร  ซึ่งถ้าใช้วิธีจ่ายน้ำเข้าแปลงตามแบบเดิม จะเลี้ยงพื้นที่การเกษตรได้เพียง 600-800 ไร่ แต่ถ้าใช้ทฤษฎีใหม่จะเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 3,000 ไร่ หรือ 5 เท่า
7.  ลำพังอ่างเก็บน้ำ 800,000 ลูกบาศก์เมตร จะเลี้ยงได้ 800 ไร่ (โครงการวัดมงคลฯ มีพื้นที่ 3,000 ไร่ แบ่งเป็น 200 แปลง)
อ่างนี้จึงเลี้ยงได้ 5 ไร่ ต่อแปลง ลำพังสระในแปลงเลี้ยงได้ 4.75 ไร่ (4.75+4 ไร่ = 8.75 ไร่)
จึงเห็นได้ว่า หมิ่นเหม่มาก แต่ถ้าคำนึงว่า 8.75 ไร่นั้น จะทำเกษตรกรรมอย่างสมบูรณ์ได้ อีก 6.25 ไร่ จะต้องอาศัยเทวดาเลี้ยง แต่ถ้าคำนึงว่าในระยะที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้น้ำหรือมีฝนตก น้ำฝนที่ตกมาจะเก็บไว้ได้ในอ่างและสระ สำรองไว้สำหรับเมื่อต้องการ อ่างและสระน้ำจะทำหน้าที่เฉลี่ยน้ำฝน (Regulator) จึงเข้าใจว่าในระบบนี้น้ำจะพอฃ
8.  ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่ง คือราคาการลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก (ทางราชการ ทางมูลนิธิ และเอกชน) แต่ค่าดำเนินการไม่สิ้นเปลืองสำหรับเกษตรกรรม สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่โดยละเอียดนั้น จะได้กล่าวไว้โดยเฉพาะในส่วนที่สอง ว่าด้วยทฤษฎีใหม่ต่อไป